พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาภาคเหนือ

Friday, September 17, 2010

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาภาคเหนือ


อ.เมือง จ.เชียงใหม่

       ธนาคารแห่งประเทศไทย มีนโยบายส่งเสริม ให้สำนักงานภาค ของธนาคาร แห่งประเทศไทยมีบทบาท ในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจท้องถิ่น นอกเหนือจากหน้าที่ดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีนโยบาย รวมถึงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม และโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าของท้องถิ่น ตลอดจนเพื่อส่งเสริม และ สนับสนุน การอนุรักษณ์ศิลปวัฒนธรรมของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานภาค   มีประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตผู้คน ธรรมชาติ ตลอดจน ศิลปวัฒนธรรม ที่สูงค่า และเป็นเอกลักษณ์ สั่งสมมา เป็นเวลายาวนานถึง 700 กว่าปี ด้วยตระหนัก ในคุณค่าเหล่านี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมสืบสาน มรดกอันล้ำค่านี้ด้วยการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือเพื่อเป็นศูนย์กลาง การเผยแพร่ความรู้ด้าน เงินตราและผ้าไท แก่บุคคลทั่วไป ในรูปแบบของ พิพิธภัณฑ์เงินตรา และผ้าโบราณ ทั้งนี้เพื่อให้ชนรุ่นหลังตระหนักถึง คุณค่าแห่งมรดก ทางวัฒนธรรมของชาติ และร่วมอนุรักษณ์สิ่งมีค่าเหล่านี้ มิให้สูญหายไปจากแผ่นดิน

      ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้า โปรดกระหม่อม จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน เปิดพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ อย่างเป็น ทางการ เมื่อวันพุธที่ 1 มีนาคม พศ.2543
ารจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย

ส่วนที่ 1
     เป็นการจัดแสดง เรื่องเกี่ยวกับ
เงินตรา ของโลกและของประเทศไทย ในยุคสมัยต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมา และพัฒนาการในการนำโลหะมีค่า มาผลิตเป็นเงินตรา ซึ่งนำมาใช้เป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยน

ส่วนที่ 2
    
ห้องผ้า เป็นการจัดแสดง เรื่องเกี่ยวกับ ผ้าโบราณ เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของผ้า ในฐานะที่เป็น เครื่องชี้ความเป็นมาแห่งเชื้อชาติ สะท้อนสภาพ เศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรม ตลอดจน พัฒนาการ ทางภูมิปัญญา


นอก เหนือจากหน้าที่หลัก ในด้านการดูแล เศรษฐกิจการเงิน ของประเทศแล้ว ธนาคาร แห่งประเทศไทย ยังมีบทบาท ในฐานะองค์กรหนึ่ง ที่ให้การ สนับสนุนการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ด้วยการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งที่ สำนักงานใหญ่ และที่สำนักงานภาคเหนือ สำหรับ พิพิธภัณฑ์ธนาคาร แห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือนั้น ธนาคารจัดให้ เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ความรู้ด้าน เงินตรา และ ผ้าไท แก่บุคคลทั่วไป เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่า แห่งมรดก ทางวัฒนธรรมของชาติ


การแลกเปลี่ยนในสมัย ก่อนประวัติศาสตร์      ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ คนเรามีการแลกเปลี่ยนผลิตผลระหว่างกัน เช่น การนำขวานหินไปแลกข้าวหรือเนื้อสัตว์ ต่อมาจึงมีการใช้สิ่งมีค่าเป็นที่ต้องการทั้งสองฝ่ายเป็นสื่อกลางการแลก เปลี่ยน ได้แก่ เปลือกหอย เมล็ดพืช ปศุสัตว์ ลูกปัด ขวานทองแดง หัวธนู เครื่องมือการเกษตร เป็นต้น และในที่สุดได้นำโลหะทองแดง โลหะเงิน โลหะทอง ซึ่งหายาก มีความคงทน ตัดแบ่งได้ง่ายมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เมื่อมีการรวมดินแดนต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นประเทศในสมัยโบราณ ผู้มีอำนาจในการปกครองได้ใช้ตราเครื่องหมายของตนประทับลงบนเม็ดเงินที่ใช้ ชำระหนี้ โลหะเงินประทับตราจึงเกิดเป็น เงินตรา ขึ้น
เงินตรายุคแรกของโลก
        ประมาณ 2600 ปีก่อน ชาวลิเดียซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศตุรกีปัจจุบันได้นำโลหะ เงินผสมทองเรียกว่า อีเล็กตรัม ประทับตรา และใช้เป็นเงินตราเป็นครั้งแรก ชาวกรีกได้นำระบบนี้มาใช้ผลิตเงินตราของตนเอง แล้วแพร่ไปยังประเทศต่างๆ รอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนการใช้ก้อนโลหะเงินเป็นเงินตราจึงแพร่กระจายออกไปใน ทวีปยุโรปและพัฒนาต่อมาเป็นเหรียญเงินในทวีปอื่นก็มีการนำโลหะชนิดอื่นมา ผลิตเป็นเงินตราด้วย เช่น เงินเครื่องมือสำริดรูปจอบและเงินมีดของจีนเงินกำไลทองแดงของประเทศไนจีเรีย เงินทองแดงรูปกากบาทของประเทศคองโก เงินห่วงทองคำของประเทศอียิปต์และซูดาน หัวขวานทองแดงของชาวเอสเท็กใน ประเทศเม็กซิโก รวมทั้งการใช้หอยเบี้ยในทวีปเอเซีย และแอฟริกา เป็นต้น


เงินตราในสุวรรณภูมิ
      ก่อนพุทธศตวรรษเป็นต้นมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 มีอาณาจักรต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมินี้เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่ อาณาจักรฟูนัน อาณาจักรศรีเกษตร อาณาจักรทวารวดี และอาณาจักรศรีวิชัย แต่ละอาณาจักรต่างก็มีเงินตราเป็นของตนเอง




การเข้าชม
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ ยินดีต้อนรับ คณะบุคคล ทั่วไปในระหว่าง เวลา 9.00 - 12.00น. และ 13.00 - 16.00 น. ตั้งแต่วันจันทร์ ถึง ศุกร์ เว้นวันหยุดธนาคาร โดยติดต่อขอเข้าชมได้ที่
โทร : 053 931182-3
โทรสาร : 053 224168
อีเมล์ : jirawang@bot.or.th



Credit http://www2.bot.or.th/museum/thai/index.asp

วิธีเดินทางจากกรุงเทพฯ-พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาภาคเหนือ ร่วมระยะทางประมาณ 690 กม
ถนนพหลโยธิน /เส้นทาง 1
1.มุ่งไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ ไปตาม ถนนพหลโยธิน/เส้นทาง 1
120 ม.
2.เลี้ยวซ้าย เข้าสู่ทางลาดไปยัง ทาง ด่วนขั้นที่ 2
23 ม.
3.ชิดขวาตรงทางแยก เพื่อวิ่งต่อไปยัง ทางด่วนขั้นที่ 2 และตัดเข้าสู่ ทางด่วนขั้น ที่ 2
ทางพิเศษ
10.1 กม.
4.ขับต่อไปยัง เส้นทาง 31
ทางพิเศษ
35.1 กม.
5.ใ้ช้ทางออกเข้าสู่ กาญจนาภิเษก/เส้น ทาง 9
ทางพิเศษ
230 ม.
6.ชิดขวาตรงทางแยก ขับตามป้ายบอกทาง Bang Pa-in แล้วตัดเข้าสู่ กาญจนาภิเษก/เส้น ทาง 9
1.6 กม.
7.ใ้ช้ทางออกเข้าสู่ เส้นทาง 347
300 ม.
8.ชิดซ้ายตรงทางแยก เพื่อวิ่งต่อไปยัง เส้นทาง 347 และตัดเข้าสู่ เส้นทาง 347
34.7 กม.
9.ชิดซ้ายตรงทางแยก เพื่อวิ่งต่อไปยัง เส้นทาง 32
44 ม.
10.ใช้ทางลาดไปยัง เส้นทาง 32
7.7 กม.
11.เบี่ยงขวาเล็กน้อย เพื่อวิ่งบน เส้นทาง 32
78.1 กม.
12.ขับตรงไปตลอดเพื่อวิ่งบน เส้นทาง 32
30.4 กม.
13.เบี่ยงซ้ายเล็กน้อยที่ เส้น ทาง 1
25.3 กม.
14.ให้ออกไปตาม เส้นทาง 122
14.4 กม.
15.เลี้ยวซ้าย ที่ พหลโยธิน/เส้น ทาง 1
174 กม.
16.เลี้ยวซ้าย เพื่อวิ่งบน พหลโยธิน/เส้น ทาง 1
179 กม.
17.เลี้ยวซ้าย ที่ ถนนไฮเวย์ ลำปาง-เชียงใหม่/เส้นทาง 11
วิ่งต่อไปตามเส้นทาง เส้นทาง 11
69.2 กม.
18.ชิดขวาตรงทางแยก เพื่อวิ่งต่อไปยัง เส้นทาง 11
23.9 กม.
19.ชิดขวาตรงทางแยก เพื่อวิ่งต่อไปยัง เส้นทาง 11
2.3 กม.
20.ชิดขวาตรงทางแยก
1.0 กม.
21.เบี่ยงซ้ายเล็กน้อย ไปยัง อัษ ฎาธร/เส้นทาง 2041
450 ม.
22.เลี้ยวซ้าย ที่ อัษฎาธร/เส้น ทาง 2041
44 ม.
23.ขับตรงไปตลอดเพื่อวิ่งบน อัษฎาธร/เส้น ทาง 2041
68 ม.
24.ขับตรงไปตลอดเพื่อวิ่งบน อัษฎาธร/เส้น ทาง 2041
1.6 กม.
25.ขับต่อไปยัง ชัยภูมิ
50 ม.
26.ขับต่อไปยัง ถนนชัยภูมิ
450 ม.

ถนนชัยภูมิ

link เส้นทางโดยgooglemap


0 ความคิดเห็น:

Post a Comment