พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่
พระพิฆเนศ จึงเป็น “เทพ” ที่ผู้คนทุกสาขาอาชีพ ไม่เฉพาะแต่แวดวงศิลปินเท่านั้น ที่ต่างก็ให้ความเคารพนับถือกันอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ พระพิฆเนศ ยังเป็น “เทพ” ที่มีรูปลักษณ์แปลกแตกต่างไปจาก “เทพ” องค์อื่นๆ เพราะมี เศียรเป็นช้าง ลำตัวเป็นคนอ้วนพุงพลุ้ย มีหลายมือ แต่ละมือถือสิ่งของต่างๆ ซึ่งไม่เหมือนกันทุกองค์ แต่สิ่งของที่ถือนั้น ล้วนสื่อความหมายทางที่ดีงามทั้งสิ้น
กำเนิดของ พระพิฆเนศ มีความเป็นมาแตกต่างกันหลายกระแส หลายแง่มุม รวมทั้ง ปาง ของ พระพิฆเนศ ก็มีมากมายหลายปางด้วยกัน ตำราส่วนใหญ่บอกว่า พระพิฆเนศ มีทั้งหมด ๓๒ ปาง แต่ในปัจจุบันจะมีมากกว่านั้น นับเป็นร้อยๆ ปางก็ว่าได้ ตามแต่จินตนาการของศิลปินผู้ปั้นแต่ง ซึ่งมีหลายเชื้อชาติ รวมทั้งศิลปินในเมืองไทย ก็มีการออกแบบแตกต่างกันไปมากมาย
เป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงไม่กี่ปีนี้ ในเมืองไทยได้มีผู้สักการบูชา พระพิฆเนศ กันมากขึ้น จนมีการสร้างรูปเคารพของท่านออกมาอย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกัน หากใครอยากจะศึกษาเรื่องราวของ พระพิฆเนศ อย่างชนิดเจาะลึก ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงประเทศอินเดีย เพราะในเมืองไทยได้มีผู้ชำนาญการด้านนี้โดยเฉพาะขึ้นมาแล้ว หลายๆ ท่านด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็คือ ปัณฑร ทีรคานนท์ (ไมค์) ผู้สร้าง พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ ขึ้นเป็น แห่งแรก และ แห่งเดียวในเมืองไทย ที่ จ.เชียงใหม่
คุณไมค์ เป็นชาวกรุงเทพฯ ได้ขึ้นไปประกอบอาชีพอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ หลายปีมาแล้ว มีความสนใจในองค์ พระพิฆเนศ มานานกว่า ๓๐ ปี โดยได้รับอิทธิพลมาจาก พระพิฆเนศ ที่ได้รับมาจากคุณพ่อ เมื่อตอนอายุ ๑๙ ปี เป็น พระพิฆเนศ แบบพระกริ่งของเขมร ขนาดห้อยคอได้
ความสนใจของคุณไมค์เริ่มแรกนั้น เกิดมาจากความสงสัยว่า ทำไม เศียร ของ พระพิฆเนศ จึงเป็น เศียรช้าง จากนั้นก็ได้ติดตามศึกษาค้นคว้าจากหนังสือตำราต่างๆ ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีอินเทอร์เน็ตให้ค้นหากัน ต้องศึกษาจากตำราต่างประเทศที่เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาฮินดู หรืออินเดีย ต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างมาก ถึงจะได้ข้อมูลต่างๆ อย่างหลากหลาย ยิ่งศึกษามาก ก็ยิ่งเพิ่มความศรัทธาสนใจมากขึ้นด้วย คุณไมค์ถึงกับเดินทางไปศึกษาหาข้อมูลในประเทศอินเดีย โดยไปเป็นระยะๆ ครั้งละหลายเดือน จนเรียกได้ว่า มีความแตกฉานในด้านนี้อย่างแท้จริง
ขณะเดียวกัน ก็ได้สะสมรูปเคารพองค์ พระพิฆเนศ ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไว้มากมายหลายร้อยองค์ จนถึงทุกวันนี้กำลังจะมีเพิ่มขึ้นเป็นพันองค์
เดิมทีเดียว คุณไมค์มีบ้านพักอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่ พรรคพวกเพื่อนฝูง ตลอดจนผู้สนใจ พอทราบข่าวว่า ที่บ้านมี พระพิฆเนศ มากมาย ก็มาขอชมกันเสมอๆ บ้างก็มาขอคำแนะนำ ขอร่วมสักการบูชา จนคุณไมค์เห็นว่าสถานที่คับแคบเลยตัดสินใจมาซื้อที่ดินกลางทุ่งนา จำนวน ๕ ไร่ เมื่อต้นปี ๒๕๔๗ จากนั้นได้ลงมือก่อสร้างตัวเรือนแบบง่ายๆ ให้เข้ากับธรรมชาติโดยรอบ พร้อมกับจัดตั้งขึ้นเป็น พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ ซึ่งถือว่าเป็น แห่งแรก และ แห่งเดียว ในเมืองไทย ผู้ศรัทธาเลื่อมใส พระพิฆเนศ เมื่อทราบข่าวก็พากันมาชม มาสักการบูชา และร่วมกันประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่พิพิธภัณฑ์จัดขึ้น บางคนก็มาศึกษาหาความรู้กันอย่างจริงจัง จนทุกวันนี้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีผู้มาเยี่ยมชมเป็นประจำทุกวัน ไม่ขาดสาย และนับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ในส่วนของการประกอบพิธีกรรมสักการบูชา พระพิฆเนศ มีทุกวันอาทิตย์ เวลา ๑๐.๐๐ น. และวันสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับองค์ พระพิฆเนศ ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์ได้แจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน
นอกจากนี้ ผู้ที่มีความศรัทธาสนใจแก่กล้ามากขึ้น อยากจะเดินทางไปสักการบูชา พระพิฆเนศ ที่ประเทศอินเดีย โดยเฉพาะ พระพิฆเนศ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ๘ แห่งในอินเดีย คุณไมค์ก็มีโครงการนำคณะศรัทธาเดินทางไปประเทศอินเดีย ปีหนึ่งๆ หลายคราวด้วยกัน
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ ตั้งอยู่ที่ ถนนเชียงใหม่-ฮอด (อินทนนท์) หลัก กม.๓๕ ต.ยางคราม กิ่ง อ.ดอยหล่อ (เขตติดต่อ อ.สันป่าตอง) จ.เชียงใหม่ โทร.๐-๕๓๒๖-๙๑๐๑, ๐๘-๙๘๕๕-๕๘๕๒, ๐๘-๙๔๓๐-๔๐๕๐ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐-๑๗.๐๐ น. หรือเปิดหาข้อมูลได้ที่ www.ganeshhimal.org
Credit www.amulet.in.th
วิธีเดินทางจากกรุงเทพฯ-พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ ร่วมระยะทางประมาณ 643 กม
ถนนพหลโยธิน /เส้นทาง 1 |
1. | มุ่งไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ ไปตาม ถนนพหลโยธิน/ | 120 ม. | |
2. | เลี้ยวซ้าย เข้าสู่ทางลาดไปยัง ทาง ด่วนขั้นที่ 2 | 23 ม. | |
3. | ชิดขวาตรงทางแยก เพื่อวิ่งต่อไปยัง ทางด่วนขั้นที่ 2 และตัดเข้าสู่ ทางด่วนขั้น ที่ 2 ทางพิเศษ | 10.1 กม. | |
4. | ขับต่อไปยัง เส้นทาง 31 ทางพิเศษ | 35.1 กม. | |
5. | ใ้ช้ทางออกเข้าสู่ กาญจนาภิเษก/ ทางพิเศษ | 230 ม. | |
6. | ชิดขวาตรงทางแยก ขับตามป้ายบอกทาง Bang Pa-in แล้วตัดเข้าสู่ กาญจนาภิเษก/ | 1.6 กม. | |
7. | ใ้ช้ทางออกเข้าสู่ เส้นทาง 347 | 300 ม. | |
8. | ชิดซ้ายตรงทางแยก เพื่อวิ่งต่อไปยัง เส้นทาง 347 และตัดเข้าสู่ เส้นทาง 347 | 34.7 กม. | |
9. | ชิดซ้ายตรงทางแยก เพื่อวิ่งต่อไปยัง เส้นทาง 32 | 44 ม. | |
10. | ใช้ทางลาดไปยัง เส้นทาง 32 | 7.7 กม. | |
11. | เบี่ยงขวาเล็กน้อย เพื่อวิ่งบน เส้นทาง 32 | 78.1 กม. | |
12. | ขับตรงไปตลอดเพื่อวิ่งบน เส้นทาง 32 | 30.4 กม. | |
13. | เบี่ยงซ้ายเล็กน้อยที่ เส้น ทาง 1 | 25.3 กม. | |
14. | ให้ออกไปตาม เส้นทาง 122 | 14.4 กม. | |
15. | เลี้ยวซ้าย ที่ พหลโยธิน/ | 174 กม. | |
16. | เลี้ยวซ้าย เพื่อวิ่งบน พหลโยธิน/ | 95.3 กม. | |
17. | เลี้ยวซ้ายเล็กน้อย เพื่อวิ่งบน พหลโยธิน/ | 1.4 กม. | |
18. | ใช้ ที่ 2 ทางซ้าย เข้าสู่ เส้น ทาง 106 | 124 กม. | |
19. | เลี้ยวซ้าย | 3.4 กม. | |
20. | เลี้ยวขวา | 1.5 กม. | |
21. | เลี้ยวขวา | 140 ม. | |
22. | เลี้ยวซ้าย ที่ 1 ไปทาง เส้น ทาง 1031/ | 600 ม. | |
23. | เลี้ยวซ้าย ที่ เส้นทาง 1031/ | 600 ม. | |
24. | เลี้ยวขวา ที่ 1 ไปทาง เส้น ทาง 1156 | 1.8 กม. | |
25. | เลี้ยวซ้าย ที่ เส้นทาง 1156 | 240 ม. | |
26. | เลี้ยวขวา ที่ 1 ไปทาง เส้น ทาง 108 | 1.9 กม. | |
27. | เลี้ยวซ้าย ที่ เส้นทาง 108 | 91 ม. |
เส้นทาง 108 |
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment