พิพิธภัณฑ์สถานธรรมชาติวิทยา๕๐พรรษาสยามบรมราชกุมารี

Wednesday, September 22, 2010

พิพิธภัณฑ์สถานธรรมชาติวิทยา๕๐พรรษาสยามบรมราชกุมารี

อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

   องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้คำจำกัดความว่า พิพิธภัณฑสถาน เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาโดยไม่หวังผลประโยชน์หรือผลกำไร มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแหล่งบริการความรู้นอกระบบแก่ชุมชน และเปิดให้สาธารณชนเข้าใช้บริการ เพื่อรับคำแนะนำความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการศึกษาเรียนรู้และพักผ่อน
พิพิธภัณฑสถาน ธรรมชาติวิทยา เป็นรูปแบบหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานที่ให้ความรู้ และดำเนินการวิจัยด้านธรรมชาติศึกษา และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเรื่องของชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมกับชีวิต อันเป็นจุดกำเนิดของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการ การปรับตัว ชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งอุปนิสัยและถิ่นที่อยู่ 

      คณะ วิทยาศาสตร์ โดยภาคชีววิทยา ได้เริ่มต้นรวบรวม และเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิต ทั้งพืช และสัตว์ จากการนำนักศึกษา ออกศึกษาภาคสนาม ตัวอย่างที่รวบรวมได้ถูกนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน นอกจากนี้มีการนำตัวอย่างบางส่วนมาจัดนิทรรศการเพื่อให้ผู้สนใจเข้าชมการ เก็บรวบรวม ตัวอย่างพืชได้พัฒนาอย่างเป็นระบบมาก่อน และจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พืชของภาควิชาฯ ต่อมาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพิพิธภัณฑ์พืชนานาชาติ ซึ่งนับ เป็น 1 ใน 4 ของพิพิธภัณฑ์พืชในประเทศไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพิพิธภัณฑ์พืชนานา ชาติ ปัจจุบันมีตัวอย่างพืชเก็บรวบรวมไว้โดยเฉพาะพืช ในประเทศไทยประมาณ 30,000 ตัวอย่าง สำหรับตัวอย่างสัตว์ได้มีการเก็บรวบรวมไว้จำนวนมาก และจัดเก็บเป็นระบบสำหรับการศึกษาอ้างอิง ต่อมาภาควิชาชีววิทยาเริ่ม มีการจัดนิทรรศการเพิ่มเติมทางวิวัฒนาการธรรมชาติศึกษา และธรณีวิทยาซึ่งภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ และโลหะวิทยา ได้มอบตัวอย่างในการจัดแสดงให้

      คณะวิทยาศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ งานพิพิธภัณฑ์สถานธรรมชาติวิทยา จึงยกระดับเป็นหน่วยงานอิสระขึ้นตรงกับคณะวิทยาศาสตร์ ในแผนพัฒนาฉบับที่ 7 และในปี 2537 ได้รับงบประมาณแผ่นดินเพื่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถาน 1 หลัง และต่อมาตั้งชื่อเป็น "พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์" โดยรวมกิจกรรมในส่วนของพิพิธภัณฑ์พืชเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อขยายกิจกรรมให้ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาเป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งวิจัยด้านธรรมชาติศึกษาแก่ชุมชนในท้องถิ่นภาคใต้ และเป็นแหล่งวิจัยด้านธรรมชาติศึกษา ของนักวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ

      จากผลงานวิจัยของบุคคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของพืช ทั้งพันธุ์สัตว์ และพรรณพืชจำนวนมาก ได้รับการตีพิมพ์จากในวารสารนานาชาติ จัดเก็บตัวอย่างต้นแบบไว้ที่พิพิธภัณฑ์อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้งานของพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ งานของพิพิธภัณฑสถานแห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้น และในปี 2549 ทางพิพิธภัณฑ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนาม ตั้งชื่อเป็น "พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษา สยามบรมราชกุมารี " หรือ "Princess Maha Chakri Sirindhorn Natural History Meseum" พร้อมทั้งมีพระราชานุญาติให้อัญเชิญพระนามาภิไทยย่อ "สธ" มาประดิษฐาน พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษา สยามบรมราชกุมารี จึงดำเนินภารกิจเพื่อ สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ นับแต่นั้นมา

พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09:30 - 16:30 น. ท่านที่มีจิตศรัทธา ต้องการบริจาคซากพืช สัตว์ที่น่าสนใจ หินและแร่ให้เก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา เพื่อประโยชน์ในการศึกษาทางด้านธรรมชาติวิทยาแก่ลูกหลานต่อไป ทางพิพิธภัณฑ์จะจารึกชื่อผู้ที่มอบไว้ให้ด้วย

สามารถติดต่อขอบริ จาคได้ที่ ตึกไดโนเสาร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 7444 6682, 0 7428 8067-8 


วิธีเดินทางจากกรุงเทพฯ-พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา๕๐พรรษาสยามบรมราชกุมารี 
ร่วมระยะทางประมาณ 936  กม
 
 

ถนนพญาไท
1.มุ่งไปทางทิศ เหนือ ไปตาม ถนน พญาไท
37 ม.
2.เมื่อถึงวงเวียน ใช้ทางออก ที่ 2 ไปยัง ถนนพหลโยธิน/เส้นทาง 1
270 ม.
3.เลี้ยวซ้าย เข้าสู่ทางลาดไปยัง ทาง ด่วนขั้นที่ 2/ทางพิเศษศรีรัช โครงข่ายในเมือง/เส้นทาง 3119
23 ม.
4.ชิดขวาตรงทางแยก เพื่อวิ่งต่อไปยัง ทางด่วนขั้นที่ 2/ทางพิเศษศรีรัช โครงข่ายในเมือง/เส้นทาง 3119 และตัดเข้าสู่ ทางด่วนขั้นที่ 2/ทาง พิเศษศรีรัช โครงข่ายในเมือง/เส้นทาง 3119
ทางพิเศษ
750 ม.
5.ใ้ช้ทางออกเข้าสู่ Bang Khlo/Dao Khanong
ทางพิเศษ
450 ม.
6.ตัดเข้าไปยัง เส้นทาง 3119
ทางพิเศษ
8.9 กม.
7.ใช้ทางออก South 2-14 เข้าสู่ Bang Khlo/Dao Khanong
ทางพิเศษ
700 ม.
8.ตัดเข้าไปยัง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร/เส้น ทาง 31
ถนน ที่เก็บค่าผ่านทางบางช่วง
7.0 กม.
9.ขับต่อไปยัง เส้นทาง 35
51.4 กม.
10.เลี้ยวซ้ายเล็กน้อย เพื่อวิ่งบน เส้นทาง 35
30.3 กม.
11.ใช้ทางลาดไปยัง เพชรเกษม/เส้น ทาง 4
450 ม.
12.ชิดซ้ายตรงทางแยก เพื่อวิ่งต่อไปยัง เพชรเกษม/เส้นทาง 4
190 ม.
13.ชิดขวาตรงทางแยก เพื่อวิ่งต่อไปยัง เพชรเกษม/เส้นทาง 4 และตัดเข้าสู่ เพชร เกษม/เส้นทาง 4
64.4 กม.
14.ชิดซ้ายตรงทางแยก เพื่อวิ่งต่อไปยัง เพชรเกษม/เส้นทาง 4
850 ม.
15.ชิดซ้ายตรงทางแยก เพื่อวิ่งต่อไปยัง เพชรเกษม/เส้นทาง 4
วิ่งต่อไปตามเส้นทาง เส้นทาง 4
50.6 กม.
16.เลี้ยวขวา ที่ เพชรเกษม/เส้น ทาง 4
182 กม.
17.ชิดขวาตรงทางแยก เพื่อวิ่งต่อไปยัง เส้นทาง 41
67.1 กม.
18.ขับต่อไปยัง เส้นทาง 41
383 กม.
19.เบี่ยงขวาเล็กน้อยที่ เพชร เกษม/เส้นทาง 4
65.3 กม.
20.ขับต่อไปยัง เส้นทาง 43
21.5 กม.
เส้นทาง 43

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment